โครงการประชาสัมพันธ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย
ชื่อโครงการ การประชาสัมพันธ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลเลย
หลักการและเหตุผล
ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS : Emergency Medical Service) คือ การจัดให้มีการระดมทรัพยากรในพื้นที่หนึ่งๆ ให้สามารถช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้น ให้ได้มีโอกาสรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในกรณี
เจ็บป่วยฉุกเฉินภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ ทั้งในภาวะปกติและในภาวะภัยพิบัติได้อย่างเท่าเทียมกัน
โดยให้มีระบบการรับแจ้งเหตุ ระบบการเข้าช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดที่เกิดเหตุ ระบบการลำเลียงขนย้าย และการนำส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้แก่โรงพยาบาลที่เหมาะสม มีคุณภาพ และรวดเร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง
อุบัติเหตุจราจรและการเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งปัจจุบันอุบัติเหตุ
และการเจ็บป่วยฉุกเฉินนับวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและความรุนแรง นำไปสู่การสูญเสียชีวิต
เกิดความพิการโดยไม่สมควรและยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจ ปัจจัยที่สำคัญ
ของการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ การได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมในระยะเวลารวดเร็ว ดังนั้น
ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) จึงมีความสำคัญซึ่งจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิต ความพิการ ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษา
ในสถานพยาบาลได้ แต่ปัจจุบันจำนวนผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินที่มารับบริการ ณ ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย ไม่ได้ใช้บริการผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งทำให้ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยนั้นไม่ได้รับการรักษาภาวะฉุกเฉินเบื้องต้นก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล ส่งผลให้ผู้ป่วยเหล่านั้นเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล
หรือเกิดการบาดเจ็บแทรกซ้อนทำให้เกิดความพิการ ดังนั้นเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน(EMT-I)โรงพยาบาลเลย
จึงมีการจัดทำแบบสำรวจสอบถามผู้ป่วยฉุกเฉินและญาติที่ไม่ได้มาโรงพยาบาลโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ซึ่งจากการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งยังไม่ทราบว่ามีระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ไม่รู้จักวิธีการเรียกใช้บริการ ไม่ทราบว่า EMS คืออะไร และไม่เข้าใจระบบการนำส่งผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
ดังนั้น กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลเลยจึงทำโครงการประชาสัมพันธ์
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสและเข้าถึงการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในกรณี
เกิดการบาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉินในภาวะปกติและภัยพิบัติได้อย่างเท่าเทียมกัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบว่ามีระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
2. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินคืออะไร รู้จักวิธีเรียกใช้บริการตลอดจนเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการการทำงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
3. เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสและเข้าถึงการรักษาพยาบาลฉุกเฉินอย่างเท่าเทียมกัน
4. เพื่อลดจำนวนผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไม่ได้มาโรงพยาบาลโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
5. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ความพิการ การบาดเจ็บแทรกซ้อนและความเจ็บปวดของผู้ป่วยระหว่างนำส่งโรงพยาบาล
6. เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนว่าการใช้บริการ EMS ดีกว่าญาตินำส่งเองหรือระบบเปลี่ยนถ่ายผู้ป่วยดีอย่างไร
7. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจหลักการแจ้งเหตุและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเมื่อประสบอุบัติเหตุ
กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนในเขตอำเภอเมืองเลยและประชาชนที่มาเที่ยวงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย
ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนกันยายน 2555
วิธีดำเนินการ
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน กำหนดขั้นตอนดำเนินงาน กำหนด Theme รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย กำหนดวันเวลา เนื้อหาในการดำเนินงาน
1.2 ศึกษาหาข้อมูลและคัดเลือกหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองเลยที่ระบบการแพทย์ฉุกเฉินยังเข้าไม่ถึง
เพื่อลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์
1.3 ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านที่จะประชาสัมพันธ์
2. ขั้นดำเนินการ
2.2 ประชุมคณะทำงานเพื่อซักซ้อมความเข้าใจก่อนประชาสัมพันธ์
2.2 ประชาสัมพันธ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยรูปแบบประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย
- การจัดแสดงนิทรรศการประชาสัมพันธ์ในงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย
และในโรงพยาบาลเลย
- เปิดคลิปวีดีโอและสปอตโฆษณาขั้นตอนการเรียกใช้ EMS การช่วยเหลือผู้ป่วยผ่านทางสายด่วน 1669 ในงานกาชาดและในโรงพยาบาล
- การแจกโบรชัวร์และนามบัตรประชาสัมพันธ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ให้ผู้มาเยี่ยมชมนิทรรศการในงานการชาดและผู้ป่วยหรือญาติในโรงพยาบาล
- แจกสปอตโฆษณาให้กับผู้ใหญ่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายในหมู่บ้าน
- เปิดสปอตโฆษณาผ่านเสียงตามสายของโรงพยาบาล
3. ขั้นประเมินผล
3.1 ประเมิลผลและสรุปผลโครงการ
3.2 ถอดบทเรียน เพื่อประโยชน์ในการจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ในครั้งต่อไป
แผนการดำเนินงาน
ลำ
ดับ |
กิจกรรม |
ระยะเวลาดำเนินการ |
ม.ค. |
ก.พ. |
มี.ค. |
เม.ย. |
พ.ค. |
มิ.ย. |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
1 |
ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานเพื่อวางแผน
การทำงาน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2 |
ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบ เนื้อหา รายละเอียดการดำเนินงาน |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
3 |
ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน
ที่จะประชาสัมพันธ์ |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
4 |
จัดทำโครงการ |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
5 |
ดำเนินการจัดประชาสัมพันธ์ EMS |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
6 |
จัดทำเอกสารและสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ EMS |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
7 |
ประชาสัมพันธ์ในงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย วันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2555 |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
8 |
ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน
ที่คัดเลือก ในเขตอำเภอเมืองเลย |
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
8 |
ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย
และจัดนิทรรศการ ภายในโรงพยาบาล |
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
10 |
ประชาสัมพันธ์ตามคลินิก ห้องตรวจต่าง ๆ
ในโรงพยาบาล |
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
11 |
สรุปและประเมินผลการประชาสัมพันธ์ EMS |
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
12 |
ถอดบทเรียนและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
งบประมาณ
งบประมาณจากเงินบำรุงโรงพยาบาลเลย จำนวน 14,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
1. ค่าจัดทำป้ายจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ จำนวน 2,500 บาท
2. ค่าจัดทำป้ายโมเดลมาสคอต จำนวน 3,000 บาท
5. ค่าจัดทำโบรชัวร์และนามบัตรประชาสัมพันธ์ EMS จำนวน 5,000 ใบ เป็นเงิน 6,500 บาท
7. ค่าจัดทำสปอตวิทยุสำหรับให้ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จำนวน 2,000 บาท
การประเมิลผล
1. แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ป่วยและญาติที่มาโรงพยาบาลด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
2. แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการในงานกาชาด
3. จำนวนการเรียกใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเขตอำเภอเมืองเลยเพิ่มมากขึ้น
4. จำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้บาดเจ็บที่มารับบริการ ณ ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ที่ไม่ได้มาด้วยระบบ
การแพทย์ฉุกเฉินลดลง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และได้รับโอกาสการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน
ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะปกติและภัยพิบัติได้อย่างเทียมกัน
2. ประชาชนรู้จักวิธีการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินและสามารถเรียกใช้บริการได้เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
3. ประชาชนรู้จักและจำหมายเลขโทรศัพท์การแพทย์ฉุกเฉิน (1669) ได้
4. ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการแก้ไขอาการฉุกเฉินเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล
5. ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ลดความเจ็บปวด ความพิการ การบาดเจ็บแทรกซ้อน
6. จำนวนผู้ป่วยที่ญาตินำส่งโรงพยาบาลเองลดลงหรือญาติรู้จักและเข้าใจระบบการเปลี่ยนถ่ายผู้ป่วยระหว่างญาติกับรถพยาบาล