เนื่องด้วย ยอดผู้ใช้บริการสายด่วน 1669 ปี ๒๕๕๔ มีผู้ใช้บริการสายด่วน ๑๖๖๙ เพื่อขอช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน เพิ่มขึ้นเป็น ๑.๗ ล้านครั้ง และเพิ่มอย่างก้าวกระโดดเป็น ๑.๙ ล้านครั้งในปี ๒๕๕๕ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ชี้หากมีระบบปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้เพิ่ม ๙,๐๐๐ – ๑๒,๐๐๐ คนต่อปี
เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม ๒๕๕๔ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดแข่ง Emergency Medical Services RALLY “EMS RALLY” ระดับเขต ๑๐ ขึ้น โดยมีนาย
นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีกล่าวรายงานว่าการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพิ่มทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จัดเกิดเหตุ EMS RALLY เขต ๑๐ คัดเลือกตัวแทนเขต ประกอบไปด้วย ๔ จังหวัด คือจังหวัดอุดรธานี จงหวัดเลย จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรในระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในเขต ๑๐ ให้งานบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขต ๑๐ มีคุณภาพได้มาตรฐานผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต ได้รับการนำส่ง อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ก่อให้เกิดความสามัคคีและทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีมในเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินรวมทั้งเป็นการคัดเลือกตัวแทนเขต ๑๐ เข้าร่วมแข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยทีมเข้าร่วมการแข่งขันประกอบไปด้วยทีมจากโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มูลนิธิและองค์กรเอกชนรวมกัน ๘ ทีมคือทีมที่ ๑ เทศบาลตำบลกุดดินจี่ร่วมกับโรงพยาบาลหนองบัวลำภู ,ทีมที่ ๒ เทศบาลตำบลนากอก ร่วมกับโรงพยาบาลศรีบุญเรือง ทีมที่ ๓ สมาคมหนองคายการกุศล ร่วมกับโรงพยาบาลหนองคาย ทีมที่ ๔ มูลนิธิสว่างคงคาธรรม ร่วมกับ โรงพยาบาลท่าบ่อ ,ทีมที่๕ ทีมมูลนิธิสว่างคีรีธรรม ร่วมกับโรงพยาบาลวังสะพุงและเชียงคาน ,ทีมที่ ๖ โรงพยาบาลเลย ,ทีมที่ ๗ ทีมวีอาร์เลย ร่วมกับโรงพยาบาลเพ็ญ ทีมที่ ๘ เทศบาลตำบลหนองบัวร่วมกับโรงพยาบาลอุดรธานี โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
โดยทีมโรงพยาบาลเลย ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันทั้ง ๒ ระดับ คือ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) และได้เป็นตัวแทนเขต ๑๐ ไปแข่งขันในระดับประเทศ
และเมื่อวันที่ ๕ – ๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดแข่ง Emergency Medical Services RALLY “EMS RALLY” ระดับประเทศ ครั้งที่ ๑ ปฏิบัติการพัฒนาทักษะของบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ที่สนามกีฬากระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี โดย นพ.
การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) จากเขตต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกจากระดับเขต โดยมีการสมมติเหตุการณ์ที่จำลองขึ้นมาให้เหมือนสถานการณ์จริง เพื่อให้ทีมกู้ชีพได้แสดงความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งการ การประเมินและควบคุมสถานการณ์ การให้คำแนะนำผู้ที่อยู่ ณ จุดเกิดเหตุ การประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ การยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม โดยใช้หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลตามมาตรฐานระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย สำหรับกฎกติกาที่ใช้ในการแข่งขัน กำหนดขึ้นจากการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการแข่งขัน EMS (EMS Competition) จากต่างประเทศ รวมทั้งได้รวบรวมและวิเคราะห์ประสบการณ์ในการจัดการแข่งขัน EMS Rally ในประเทศไทย นำมาเป็นกฎกติกาที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้
ทั้งนี้ เมื่อจบการแข่งขัน EMS RALLY ระดับประเทศครั้งที่ 1 ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เขต ๑๒ ประกอบด้วยทีมจากจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และ กาฬสินธ์ โดยทีมจากเขต ๑๐ ได้รับรางวัลชมเชย ส่วนชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เขต ๑๐ ประกอบด้วย อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย
และในปลายปีนี้ จะมีการจัดการแข่งขันกู้ชีพระดับอาเซียน โดยมี ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) จากจังหวัดขอนแข่นเป็นตัวแทนเขต ๑๒ และ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ทีมจากจังหวัดเลย จะเป็นตัวแทนเขต ๑๐ โดยทั้งสองทีมจะเป็นตัวแทนของประเทศไทย ไปแข่งขันในปลายปีนี้
นางพัชนีภรณ์ สุรราทชนานันท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินกล่าวว่า รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจที่ทีมจังหวัดเลยได้รางวัลชนะเลิศ ทั้งสองประเภท ในระดับเขต และได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ในชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ซึ่งจะเป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันในระดับอาเซียนต่อไป ซึ่งทีมจังหวัดเลยเป็นทีมจังหวัดเล็กๆ และเป็นทีมน้องใหม่ ไม่ค่อยมีประสบการณ์ในระดับ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ซึ่งเทียบกับโรงพยาบาลศูนย์ที่อื่น
โดยทีมจังหวัดเลยที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ มีนายแพทย์วีระศักดิ์ พงษ์พุทธา แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เป็นหัวหน้าทีม นางบรรฑิตา บัวกอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นายเชาว์ธวัจน์ ราชพัฒ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ นายวุฒิชัย ไชยศรีฮาด เจ้าพนักงานเวชกิจ ฉุกเฉิน นางสาว รวมทั้งเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินและทีมพนักงานเปล ได้มีการฝึกซ้อมและความมุ่งมั่น จึงทำให้ทีมได้รางวัลชนะเลิศในระดับประเทศมา
โดยจังหวัดเลยนั้นมีเจ้าพนักงานกู้ชีพทั้งหมดมากกว่า ๑,๕๐๐ คน มีจุดบริการในระดับ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) จำนวน ๑๓๘ จุด และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ๑๕ หน่วยบริการ