สิ่งละอัน พันละน้อยที่ควรรู้
|
-
กรุณาอย่าเรียกหน่วยกู้ชีพถ้าท่านไม่ได้เจ็บป่วยฉุกเฉินจริง ๆ เพราะ
การออกไปให้บริการท่านในเวลานั้นอาจจะทิ้งโอกาสสำคัญที่จะให้
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติในเวลาเดียวกัน
-
หลังแจ้งเหตุไม่ควรรีบวางสายเพราะเจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการจะให้คำแนะนำต่อไปว่า จะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างไรก่อนที่รถฉุกเฉินจะไปถึง
-
ยังมีผู้ป่วยโรคหัวใจเฉียบพลันจำนวนมากที่ขับรถไปโรงพยาบาล
ด้วยตัวเอง ทั้งที่ควรจะต้องเรียกหน่วยกู้ชีพให้ออกไปรับ ลองคิดดูว่า
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเวลาที่กำลังขับรถอยู่นั้นเกิดหมดสติ ไม่รู้สึกตัว
-
ในห้องฉุกเฉินที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก แพทย์พยาบาลจะต้องเร่งรีบ
ในการช่วยเหลือเพราะฉะนั้นบรรดาญาติโปรดได้เข้าใจหากเจ้าหน้าที่ไม่ได้พูดคุยหรือเอาใจใส่
-
โปรดอย่าได้ร่ำไรที่จะพูดจาซักถามเจ้าหน้าที่ในห้วงเวลาขณะนั้น ต่อมาเมื่อพ้นจากวิกฤติแล้ว เจ้าหน้าที่จึงจะมาอธิบายและให้ได้ซักถาม
-
แม้จะมาถึงโรงพยาบาลด้วยรถฉุกเฉิน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับ
การตรวจรักษาในทันที ทุกๆคนจะต้องได้รับการคัดกรอง และหากพบว่าอาการไม่หนัก ก็จะต้องรอตรวจเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ
· ถึงผู้ป่วยกำลังรอตรวจทุก ๆ ท่าน อย่าโกรธและเกลียดพวกเรา
ที่เป็นเจ้าหน้าที่ในห้องฉุกเฉิน เพราะเรากำลังทำงานกันไม่ได้หยุดและ
เราไม่อยากให้ท่านต้องรอคอยเหมือนกัน
-
ช่วงเวลาที่ยุ่งเหยิงที่สุดในห้องฉุกเฉิน คือ หกโมงเย็นถึงราวสามทุ่ม เพราะฉะนั้นถ้าสามารถเลือกเวลามาได้โปรดหลีกเลี่ยงที่จะมา ที่จะมา
ห้องฉุกเฉินในเวลานั้น ๆ
-
สำหรับผู้ป่วย กรุณาอย่าอารมณ์เสียที่ห้องฉุกเฉินมีคนไข้มากมาย
เพราะห้องฉุกเฉินที่ไหน ๆ ก็จะต้องมีคนไข้มากมายทั้งนั้น
-
เพื่อความรวดเร็วในการตรวจรักษา โปรดให้ความร่วมมือที่จะปฏิบัติ
ตามที่เจ้าหน้าที่ขอร้อง
-
โปรดให้ข้อมูลการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ เช่น ยาที่กิน โรคประจำตัว
โรคที่เคยเป็นและการผ่าตัดที่เคยได้รับการรักษา เพื่อแพทย์จะได้
ไม่ต้องเสียเวลาในการไล่เลียงหาประวัติของผู้ป่วยนานจนเกินไป
-
อย่าอายที่ จะให้ข้อมูลที่เป็นจริง อย่าปิดบัง อย่าโกหก เช่นประวัติ
การร่วมเพศ การฉีดวัคซีน ยาสมุนไพร ยาพื้นบ้านที่ใช้ แพทย์คนก่อน
ที่ไปหา
-
ควรจะมีคนใกล้ชิดที่สุดเพียงคนเดียว ที่คอยติดต่อประสานงานข้อมูลข่าวสาร และสื่อสารระหว่างแพทย์กับบรรดาญาติมิตร
-
มีผู้ป่วยไม่น้อยที่อยากได้รับการตรวจรักษาเร็วๆ แล้วแสร้งทำเป็น
ป่วยหนัก แต่แพทย์ พยาบาลที่มีประสบการณ์ในห้องฉุกเฉิน มักจะจับได้เสมอ
-
ในห้องฉุกเฉิน โปรดปิดโทรศัพท์มือถือ
-
ห้องฉุกเฉินไม่สนใจหรอกว่าผู้ป่วย มีเงินหรือไม่ หรือ มีประกันอะไรอยู่
เราจะดูแลความฉุกเฉินของท่านก่อนเสมอ
-
การรบเร้าเร่งรัด และคอยจับผิดเจ้าหน้าที่ขณะกำลังปฏิบัติงาน
ช่วยเหลือญาติของเขา ยิ่งเป็นการกดดันและเพิ่มความเครียด
ซึ่งมีมากมายอยู่แล้วในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่วิกฤตให้เครียดมากยิ่งขึ้น
ไปอีก
-
สำหรับผู้ป่วยก่อนออกจากห้องฉุกเฉิน หากยังมีข้อสงสัยอะไร
ให้ถามและถามอีก จนกว่าจะหมดข้อสงสัยและโปรดแสดงความขอบคุณเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าสถานการณ์ของท่านมันวิกฤตขนาดไหน และแพทย์พยาบาลได้ทุ่มเทให้ท่านมากขนาดไหน
|